เลือกเครื่องทำไอศครีมประเภทไหนดี ?

แชร์
 1. เครื่องทำไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ

ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟโดยปกติจะมีไขมันอยู่เพียง 3 - 6 % รสสัมผัสที่นุ่มเนียน ลักษณะคล้ายครีมที่เข้มข้น โดยอาศัยตัวช่วยในการปรับระดับอากาศที่จะใส่เข้าไปในไอศกรีม เรียกว่า “Overrun” เนื่องจากปริมาณของอากาศที่ปั่นเข้าไป ถ้าน้อยไปก็จะทำให้ไอศกรีมที่ได้มีรสเข้มข้นเกินไป มีเกล็ดน้ำแข็งผสมทำให้เนื้อครีมไม่นุ่มเนียน  แต่ถ้าปริมาณอากาศมากเกินก็จะทำให้มีฟองอากาศมากเกินไปทำให้ไอศกรีมที่ ได้เหลวและรสชาติที่ได้ก็จะไม่เข้มข้น  อากาศเป็นตัวแปรหลักในการทำให้รสชาติไอศกรีมชนิดนี้แตกต่างกันออกไป เพื่อป้องกันการไม่ให้เกิดเกล็ดน้ำแข็ง เครื่องผลิตไอศกรีมจะต้องทำไอศกรีมแข็งตัวเร็วที่สุด โดยปกติแล้วเครื่องผลิตไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟควรจะมีที่รักษาอุณหภูมิที่ ลบ 3-4 องศาเซลเซียส 


 2. เครื่องทำไอศกรีมฮาร์ดเสิร์ฟ

ไอศกรีมฮาร์ดเสิร์ฟ หรือไอศกรีมตัก เป็นลูกๆ ที่ทุกคนรู้จักกันดี โดยปกติไอศกรีมชนิดนี้จะไขมันอยู่ที่ 10 - 18 %  อุณหภูมิการผลิตอยู่ที่ประมาณ -15 องศาเซลเซียส โดยไอศกรีมชนิดนี้ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วจากนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมฮาร์ดเสิร์ฟโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน


   การเลือกส่วนผสม

ส่วนผสมสด
สามารถเก็บรักษาไว้สุงสุด 5-7 วัน แต่ควรระวังในการจัดเก็บและผสม เนื่องจากหากเกิดการเจือปน และมีอากาศร้อน อาจก่อให้เกิดแบคทีเรีย และสามารถทำให้ท้องเสียได้ง่าย"

ส่วนผสมแบบผง
ข้อได้เปรียบคือ สามารถเก็บไว้ได้นาน สะดวก และไม่ต้องการที่เยอะในการเก็บ แต่อาจรสชาติไม่ผิดเพี้ยนจากได้เล็กน้อยตามรสชาติและปริมาณน้ำที่ใช้ผสม หลังจากผสมน้ำแล้วควรเก็บไว้ในที่ลบ 1-4 ° C เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในน้ำและอากาศได้ ไม่ควรใช้น้ำอุ่นในการผสม เนื่องจากแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้เร็ว "

ส่วนผสมแบบน้ำ
ข้อได้เปรียบคือ สามารถเก็บได้นาน รสชาติไม่ผิดเพี้ยน แต่จัดเก็บลำบากกว่าแบบผง เมื่อเปิดภาชนะบรรจุแล้ว ควรเก็บไว้ในที่ ลบ 1-4 ° C เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในน้ำและอากาศได้ ไม่ควรใช้น้ำอุ่นในการผสม เนื่องจากแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้เร็ว 
 
าระน่ารู้อื่น ๆ
CUSTOMER
ขอขอบคุณทุกความไว้วางใจ